เรื่อง ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y )
ประวัติผู้สร้างทฤษฎี
แมคเกรเกอร์ (Douglas
McGregor) เขาเป็นศาสตราจารย์วิชาการบริหาร ณ
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเสทส์ สหรัฐอเมริกา
นอกจากนั้นยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคม เขาทำการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ในสังคม พบว่ามนุษย์มีพฤติกรรมแตกต่างกันตามแรงจูงใจที่แตกต่างกัน
จึงได้สร้างทฤษฎีการจูงใจในการทำงาน ขึ้นในปี ค.ศ.1960
(Sorensen P. and Yaeger T,2015) และเขียนลงในหนังสือ 'The Human Side of Enterprise,'
ที่มาของภาพ :http://veerasit-dba04.blogspot.com/2012/10/10-douglas-mcgregor.html
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์
ทฤษฎี X
ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC
Gregor Theory X, Theory Y ) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจเขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
จากการสังเกตพบว่าสามารถแบ่งคนในองค์กรตามแรงจูงใจได้เป็น
2 กลุ่ม ได้แก่ มนุษย์ X และ มนุษย์ Y
ทฤษฎี X(The
Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐาน
ลักษณะทั่วไปของมนุษย์มักขาดแรงจูงใจในการทำงาน โดยมีลักษณะดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน
และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่
และหลอกง่าย
แนวทางการบริหาร จึงเน้นการใช้รางวัลเป็นเครื่องจูงใจ เช่น เงิน วัตถุ
เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y(The
integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานโดยกล่าวถึงมนุษย์ที่มีแรงจูงใจในการทำงาน
ดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ
สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน
และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
แนวทางการบริหาร
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด
แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น
ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน
ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสรภาพ
การประยุกต์ใช้ทฤษฎี X และทฤษฎี
Y ในองค์กร
1. วิเคราะห์บุคลากรในองค์กรว่าเป็นบุคคลที่มีลักษณะตามทฤษฎีใด จากนั้นกำหนดแนวทางการบริหารให้เหมาะสม
เช่น ผู้ที่เกียจคร้าน (ทฤษฎี X)ต้องมีรางวัลจูงใจ เช่น
รางวัลพนักงานดีเด่น ส่วนบุคคลที่มีแรงจูงใจสูง (ทฤษฎี) ควรให้อิสระในการทำงาน
2. การกำหนดนโยบายขององค์กรเพื่อสนับสนุนคนแต่ละประเภท เช่น คนตามทฤษฎี
Xต้องมีรางวัลจูงใจเช่น รางวัลพนักงานดีเด่น ส่วนบุคคลที่มีแรงจูงใจสูง
(ทฤษฎี) ควรให้อิสระในการทำงาน
องค์การที่นำ ทฤษฎี X และทฤษฎี
Y ประยุกต์ใช้ ได้แก่
1. บริษัทไมโครซอฟท์ของ บิล เกตส์
ปฏิบัติตามทฤษฎี ดังนี้ ตามทฤษฎี Y โดยการให้หุ้น คือ
-
ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่พนักงานที่ทำงาน
-
ให้ความเสมอภาคแก่พนักงาน
เขาปฏิบัติตามทฤษฎี
X โดย พนักงานที่ทำงานผิดพลาด
และมีความเกียจคร้าน จะถูกหักแต้ม ทุกคนถ้าทำงานดีจะได้ 4 แต้ม
ถ้าได้ 1 แต้มจะถูกลงโทษโดยการไล่ออก
จากทฤษฎีข้างต้นหากนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรจะพบว่าจะช่วยให้สามารถบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากช่วยให้บริหารบุคคลได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้นเราควรตระหนักถึงการวิเคราะห์ลักษณะของบุคคลในองค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการบริหารงานในองค์กร
ให้บุคคลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างรามรื่น
ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จและการพัฒนาองค์กรอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง :
Theory X and Theory Y Understanding People's Motivations. Retrieved January
24 , 2017,from https://www.mindtools.com/pages/article/newLDR_74.htm
Sorensen P. and Yaeger T.(2015). Theory
X and Theory Y. Retrieved January 24 , 2017,from http://www.oxfordbibliographies.com/view/document/obo-9780199846740/obo-9780199846740-0078.xml
ทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์
(McGregor’s
Theory X and Theory Y).ค้นหาเมื่อวันที่ 24 มกราคม
2561 ,จาก http://www.kruitth.com/
ทฤษฎีการจูงใจของแมคเกรเกอร์
(McGregor’s
Theory X and Theory Y).ค้นหาเมื่อวันที่ 24 มกราคม
2561 ,จาก http://mbaru1.blogspot.com/2011/07/mcgregors-theory-x-and-theory-y.html
สุภาวดี เจริญเศรษฐมห.บทบาทคติชนองค์การในการจัดการทรัพยากรบุคคล
Roles of organizational Folklore in personnel management.วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์.34(1),65-84